115
สภาพทั่วไป |
|||||||||
ที่ตั้ง อาณาเขต และภูมิประเทศ เทศบาลตำบลไม้เรียง | |||||||||
เทศบาลตำบลไม้เรียงได้เปลี่ยนแปลงฐานะมาจากสุขาภิบาลไม้เรียงตามพระราชบัญญัติ เปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 ตอนที่ 9 ก. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 นั้น เทศบาลตำบลไม้เรียงเป็นเทศบาลแห่งหนึ่งใน 3 แห่ง ของอำเภอฉวาง ได้แก่ เทศบาลตำบลฉวาง เทศบาลตำบลจันดี และเทศบาลตำบลไม้เรียง โดยมีสำนักงานเทศบาลตั้งอยู่ในเขตตำบลไม้เรียง | |||||||||
ที่ตั้งเทศบาลตำบลไม้เรียงอยู่ห่างจากอำเภอฉวาง ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครศรีธรรมราช ระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตร มีจำนวนพื้นที่ 2.48 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,730 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนข้างเคียงดังนี้ | |||||||||
|
|||||||||
สภาพภูมิประเทศ | |||||||||
เป็นลักษณะของที่ราบเชิงเขา มีภูเขาอยู่ห่างทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 50-100 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางมีแม่น้ำลำคลองที่สำคัญคือ แม่น้ำตาปีไหลผ่านตามแนวเขตทางด้านทิศตะวันออกของเทศบาล | |||||||||
ลักษณะของดินบริเวณเทศบาลเป็นดินเนื้อละเอียด มีอินทรีย์วัตถุน้อย เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ส่วนบริเวณอื่นเป็นบริเวณที่สูงหรือเนินเขา ลักษณะของดินเป็นดินเนื้อหยาบ มีอินทรีย์วัตถุน้อยเหมาะสำหรับการปลูกไม้ยืนต้น | |||||||||
ลักษณะภูมิอากาศ | |||||||||
เป็นแบบมรสุมเขตร้อน มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม มีอากาศร้อนตลอดฤดูและฤดูฝน ระหว่างเดือน พฤษภาคม – มกราคม | |||||||||
เขตการปกครอง | |||||||||
แบ่งออกเป็น 2 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 3 ประกอบด้วยชุมชนตลาดทานพอ ชุมชนบ้านหนองหอย และหมู่ที่ 8 มีชุมชนบ้านหนองตรุด ชุมชนบ้านแหลมทอง ชุมชนหน้าวัดหาดสูงพัฒนา และชุมชนบ้านในทอนพัฒนา | |||||||||
115
สภาพทางเศรษฐกิจ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายได้ประชากร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายได้ส่วนใหญ่ของราษฎรในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียง ได้มาจากการประกอบอาชีพด้าน การเกษตรกรรม การพาณิชยกรรม การอุตสาหกรรมขนาดเล็ก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การเกษตรกรรม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาชีพด้านเกษตรกรรมของราษฎรในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียง เช่น การทำสวนยางพารา ทำนา ทำสวนผลไม้ นอกจากนี้ยังมีการปลูกพืชสวนครัวบ้างบางส่วน มีจำนวนครัวเรือนที่ประกอบอาชีพดังกล่าว จำนวน 30 ครัวเรือน หรือประมาณ 1,051 คน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การอุตสาหกรรม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาชีพด้านอุตสาหกรรมในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียง เป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนหรืออุตสหกรรมขนาดเล็ก ได้แก่ ร้านซ่อมเครื่องยนต์ 8 แห่ง โรงพิมพ์ 1 แห่ง โรงเลื่อย 1 แห่ง ซึ่งมีราษฎรประกอบอาชีพนี้น้อยเมื่อเทียบกับราษฎรที่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การพาณิชยกรรม/การบริการ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาชีพด้านการพาณิชยกรรมของราษฎรในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียง สามารถจำแนกได้ 11 ประเภท ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ซึ่งการประกอบอาชีพด้านบริการประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น นั้น มีแนวโน้มทางด้านการลงทุนที่คงที่หรือเพิ่มขึ้นหรือลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การท่องเที่ยว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ด้านการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียง ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวจึงทำให้ไม่มีรายได้ และค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นเงินอุดหนุน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การปศุสัตว์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ลักษณะการประกอบการปศุสัตว์ในท้องถิ่นของราษฎรในเขตพื้นที่ เทศบาลส่วนใหญ่จะ เลี้ยงไว้ เพื่อบริโภคในครัวเรือน สัตว์ที่เลี้ยงส่วนใหญ่ ได้แก่ ไก่ โค สุกร ปลา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
115
สภาพทางสังคม |
|||||||||||||
ด้านจำนวนประชากร | |||||||||||||
ในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียง มีประชากรจำนวน มีประชากรจำนวน 2,441 คน เป็นชาย จำนวน 1,190 คน เป็นหญิง 1,251 คน มีครัวเรือนทั้งหมด 1,100 ครัวเรือน ความหนาแน่นครัวเรือนละ 4 – 5 คน สามารถแยกช่วงอายุได้ ดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2554 ) | |||||||||||||
|
|||||||||||||
ด้านการศึกษา | |||||||||||||
ในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียง มีสถาบันการศึกษาจำนวน 4 แห่ง รายละเอียด ดังนี้ | |||||||||||||
|
|||||||||||||
ด้านศาสนา | |||||||||||||
ราษฎรในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดหาดสูงและสวนพุทธธรรมป่าช้าปากหลามเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและศูนย์รวมเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ | |||||||||||||
ด้านประเพณี และศิลปวัฒนธรรม | |||||||||||||
ราษฎรในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียง มีประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านานตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงปัจจุบัน เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป คือ ประเพณีวันสงกรานต์ ประเพณีวันสารทเดือนสิบ และประเพณีวันลอยกระทง ซึ่งประเพณีดังกล่าวเป็นประเพณีประจำท้องถิ่นของราษฎรในเขตเทศบาล ทางเทศบาลได้ให้การสนับสนุนและมีเจตนารมณ์ที่จะสืบทอดให้คงอยู่กับท้องถิ่นสืบต่อไป | |||||||||||||
ด้านสาธารณสุข | |||||||||||||
การให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ราษฎรในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียง มีสถานีอนามัยบ้าน ทานพอ 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 8 บ้านหนองตรุด มีเจ้าหน้าที่ประจำสถานีอนามัยจำนวน 3 คน ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 5 หมู่บ้านของตำบลไม้เรียง ได้แก่ หมู่ที่ 3 , 4 , 6 , 7 และหมู่ที่ 8 ชนิดของโรค 10 อันดับได้แก่ | |||||||||||||
1. โรคทางเดินหายใจ 2. โรคระบบย่อยอาหาร 3. สาเหตุภายนอกที่ทำให้ป่วย 4. โรคระบบกล้ามเนื้อ 5. โรคผิวหนัง/เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง 6. โรคติดเชื้อและปรศิต 7. โรคระบบไหลเวียนโลหิต 8. ภาวะแปรปรวนทางจิตและพฤติกรรม 9. อุบัติเหตุจากการขนส่ง |
|||||||||||||
114
การบริการทางสังคมพื้นฐาน |
|
การคมนาคมภายในเขตเทศบาล | |
เทศบาลตำบลไม้เรียง มีเส้นทางการคมนาคมสำหรับใช้สัญจรไป-มา ติดต่อระหว่างชุมชนใกล้เคียง และชุมชนอื่น ๆ ดังนี้ | |
- ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4104 เชื่อมระหว่างทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4015 ผ่านตำบลกะเปียด ตำบลไม้เรียง สู่อำเภอฉวาง | |
- ถนนลาดยางเชื่อมการคมนาคม ระหว่างเทศบาลตำบลไม้เรียง ผ่านตำบลไม้เรียง กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 | |
- เส้นทางรถโดยสารประจำทางผ่าน 1 สาย คือ สายบ้านส้อง - นครศรีธรรมราช มีจำนวน 2 เที่ยว | |
- เส้นทางรถไฟ ทางรถไฟสายใต้เชื่อมการคมนาคมระหว่างกรุงเทพมหานคร ผ่านบริเวณชุมชนเทศบาลตำบลไม้เรียงที่สถานีทานพอ ลงสู่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นขบวนรถเร็วธรรมดา วันละ 10 เที่ยว | |
การไฟฟ้า | |
การให้บริการด้านไฟฟ้าในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียง ดำเนินการโดยการไฟฟ้าส่วน ภูมิภาค อำเภอฉวาง ซึ่งในปัจจุบันสามารถให้บริการได้ครบทุกครัวเรือน | |
การประปา | |
ในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียง ไม่มีกิจการประปาเป็นของตนเอง ต้องอาศัยการบริการจากสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคจันดี ซึ่งปัจจุบันการให้บริการน้ำประปายังไม่ครอบคลุมทุกครัวเรือน จำนวนครัวเรือนที่มีน้ำประปาใช้ จำนวน 364 ครัวเรือน | |
การสื่อสารและโทรคมนาคม | |
ในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียง มีที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง อยู่ในบริเวณย่าน ชุมชนตลาดทานพอ เพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่และชุมชนใกล้เคียง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 3 นอกจากนี้ยังมีตู้ไปรษณีย์ตั้งกระจายอยู่ตามจุดต่าง ๆ ของชุมชน จำนวน 7 แห่ง | |
โทรศัพท์ การให้บริการทางด้านโทรศัพท์ ในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียง อยู่ในหน้าที่ ความรับผิดชอบของ บริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สาขาจันดี (เขตโทรศัพท์ภูมิภาคที่ 7) มีจำนวนครัวเรือนที่มีโทรศัพท์ใช้ในเขตพื้นที่ จำนวน 176 ครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีโทรศัพท์มือถือที่ประชาชนมีการใช้บริการอย่างกว้างขวางครอบคลุมเกือบทุกครัวเรือน โทรทัศน์ ในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียงเกือบทุกครัวเรือนจะมีโทรทัศน์ ซึ่งใช้เป็นแหล่ง สถานีข้อมูลข่าวสาร รายการบันเทิง และ สาระต่าง ๆ ที่จะสามารถให้ความรู้กับประชาชนได้ Internet เทศบาลได้จัดตั้งศูนย์ ICT เพื่อให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ โดยจัดตั้งไว้ ณ ศูนย์เรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเทศบาลตำบลไม้เรียง ซึ่งเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 น. – 18.30 น. ปัจจุบันมีประชาชนมาใช้บริการโดยเฉลี่ยเดือนละ 1,000 คน |
|
การจราจร | |
สภาพการจราจรในเขตพื้นที่ เทศบาลตำบลไม้เรียง มีถนนจำนวน 22 สาย การเดินทาง สัญจรไป – มา สามารถเดินทางได้สะดวกและรวดเร็ว มีถนนเชื่อมต่อเข้าสู่ที่อยู่อาศัยของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง | |
การผังเมือง | |
ในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียง มีรายละเอียดการใช้ที่ดินในปัจจุบัน ดังนี้ | |
1) การใช้ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย การใช้ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย มีการตั้งบ้านเรือนกระจายตามพื้นที่ ตามถนนสายหลักและ หนาแน่นในบริเวณชุมชน จำนวน 6 ชุมชน คือ ชุมชนบ้านหนองตรุด ชุมชนตลาดทานพอ ชุมชนบ้านหนองหอย ชุมชนบ้านในทอนพัฒนา ชุมชนบ้านแหลมทอง และชุมชนหน้าวัดหาดสูง มีประมาณร้อยละ 3.19 หรือ 49.69 ไร่ 2) การใช้ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม การใช้ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียงปัจจุบันมีร้านจำหน่ายสินค้า เพื่ออุปโภค และบริโภค จำนวน 62 แห่ง บริเวณพาณิชยกรรมหรือย่านการค้าของชุมชนจะอยู่บริเวณศูนย์กลางของชุมชน ส่วนใหญ่เป็นการค้าขนาดเล็ก สำหรับให้บริการประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งมีพื้นที่ประกอบการพาณิชยกรรมประมาณร้อยละ1.04 หรือประมาณ 16.15 ไร่ 3) การใช้ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม การใช้ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม ในเขตเทศบาล ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน มีขนาดเล็ก ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ โรงเลื่อย จำนวน 1 แห่ง โรงพิมพ์จำนวน 1 แห่ง ร้านซ่อมเครื่องยนต์ จำนวน 8 แห่ง 4) การใช้ที่ดินประเภทเกษตรกรรม การใช้ที่ดินประเภทเกษตรกรรม ในเขตเทศบาลประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพ เกษตรกรรมอยู่บริเวณรอบนอกชุมชน เช่น ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ ทำนา และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีการใช้พื้นที่ประมาณ 1,406.89 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 90.6 5) การใช้ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา การใช้ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา ในเขตเทศบาล มีสถาบันการศึกษาที่ให้บริการแก่ ราษฎรในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงอยู่ 2 ระดับ คือในระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลเจริญมิตร,โรงเรียนเจริญมิตรพณิชยการ และโรงเรียนวัดหาดสูง และระดับ ปวช. ได้แก่ โรงเรียนเจริญมิตรพณิชยการ พื้นที่การใช้ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษามีพื้นที่ประมาณ 10.2 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 0.66 6) การใช้ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา การใช้ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา ในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียงมีพื้นที่ ที่ใช้ในทางศาสนา จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ วัดหาดสูงและสวนพุทธธรรมป่าช้าปากหลาม มีพื้นที่ประมาณ 16.14 ไร่ หรือร้อยละ 1.04 7) การใช้ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การใช้ที่ดินประเภทสถาบันราชการส่วนใหญ่จะรวมตัวอยู่บริเวณศูนย์กลางแหล่งชุมชน ได้แก่ สถานีตำรวจภูธรตำบลไม้เรียง สถานีอนามัยบ้านทานพอ โรงเรียนวัดหาดสูง สถานีรถไฟทานพอ และที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข สถานที่ราชการดังกล่าว มีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้นประมาณ 5.45 ไร่ หรือ ร้อยละ 0.35 8) การใช้ที่ดินประเภทสถาบันการเงิน การใช้ที่ดินประเภทสถาบันการเงินในเขตเทศบาล มีอยู่ 1 แห่ง คือธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาทานพอ ตั้งอยู่ในชุมชนตลาดทานพอ หมู่ที่ 3 |
|